nisita.gif

kmpht.jpg

Home
Walailak U
UDONPIT1720
HCU University
KHON KAEN UNIVERSITY
RANGSIT UNIVERSITY
AHS.NU
KMPHT.

My creative side...

 วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาจนาภิเษก
 
วิสัยทัศน์ : เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มุ่งผลิตและพัฒนาศักยภาพบุคลากรสายสนับสนุนทางการแพทย์และสาธารณสุขสู่
ชุมชนให้เป็นคนดี มีความรู้ทักษะเชิงวิชาชีพตามมาตรฐานการศึกษา ใฝ่รู้ และผสมผสานภูมิปัญญาไทยและ
เทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง

ศูนย์ข้อมูลสมุนไพร
 
พบ “ผักติ้ว” สามารถสกัดเป็นสารต้านอนุมูลอิสระยับยั้งการหืนได้

ชลบุรี - วิจัยพบผักจิ้มน้ำพริก กระถิน ติ้ว หมาก พลู มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับวิตามินอี คือ เป็นสารกันหืนได้ โดยจากการวิจัยพบว่า หนึ่งในนั้นคือ ผักติ้ว ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมมากที่สุด นางพิชญ์อร ไหมสุทธิสกุล นักศึกษาโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศึกษาพบว่า “ติ้ว” ซึ่งเป็นพืชผักธรรมชาติที่หาซื้อได้ตามท้องตลาดสามารถนำมาสกัดเป็นสารกันหืนในอาหารได้ผลดี ปลอดภัย และราคาถูก หากสามารถนำไปต่อยอดเชิงการค้าทั้งในส่วนของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องสำอางจะช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้าและลดการนำเข้าจากต่างประเทศ โดยสารกันหืนที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารขณะนี้เป็นสารกันหืนสังเคราะห์อัลฟา โทคอฟรีรอล ซึ่งเป็นสารประเภทวิตามินอี มีคุณสมบัติกำจัดอนุมูลอิสระได้

แต่เมื่อนำมาทำการทดลองวัดหาค่าการต้านอนุมูลอิสระแล้วพบว่า “ติ้ว” สามารถยับยั้งการหืนของขนมขบเคี้ยวได้ดีกว่าสารสังเคราะห์ ทดลองด้วยการเคลือบสารสกัดจากติ้วบนขนม แล้วนำมาให้กลุ่มตัวอย่างรับประทาน พบว่า ฟีนอลิกจาก “ติ้ว” สามารถป้องกันการหืนบนขนมได้ดีกว่าอัลฟา โทคอฟรีรอล ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระสังเคราะห์
สำหรับสารฟีนอลิก ซึ่งใช้ต้านอนุมูลอิสระพบในพืชที่เกิดในบริเวณที่มีแสงแดดมากและพืชเมืองร้อนก็จะสร้างสารฟีนอลิก ออกมาได้มากกว่าบริเวณที่ไม่มีแดดซึ่งเหมาะกับประเทศไทย โดยสารฟีนอลิก พบมากในผักที่รับประทานกับน้ำพริก เช่น ติ้ว กระโดน กระถิน และพวกหมาก พลู สีเสียด และพืชที่ผลิตไวน์ เช่น ลูกหว้า มะเม่า มะเกลี้ยง เป็นต้น ทั้งนี้ งานวิจัยดังกล่าวสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ แต่ต้องทำการทดสอบความเป็นพิษก่อน ซึ่งถ้าสามารถพิสูจน์ได้ว่าไม่มีพิษก็จะสามารถนำมาผลิตในเชิงการค้าได้ทันที เนื่องจากในพืชบางชนิดยังพบว่ามีสารก่อมะเร็งรวมอยู่ด้วย เช่น กลุ่มของหมาก

อย่างไรก็ดี หากมีการต่อยอดจนสามารถผลิตสารสกัดติ้วในเชิงพาณิชย์ได้ก็จะช่วยลดอัตราการนำเข้าของสารสกัดพืชจากต่างประเทศ และช่วยเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรไทยด้วย

ที่มา หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 21 เมษายน 2549

A sunrise; Size=300 pixels wide

พบ 'แมงลักคา' รักษาหวัดใหญ่

วงการแพทย์ไทยทำสำเร็จ พบ "แมงลักคา" หรืออีตู่ป่า เป็นสมุนไพรรักษาไข้หวัดใหญ่ เผยทดลองกับสัตว์และคนไข้มานานกว่า 1 ปี ได้ผลดีในระดับปฏิบัติการ เตรียมผลิตเป็นยาแคปซูลหลังทดลองระยะที่ 3 เสร็จในเร็วๆ นี้ เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม น.พ.สุชัย เจริญรัตนกุล รมว.สาธารณสุข เป็นประธานเปิดศูนย์ตรวจสอบและรับรองคุณภาพสมุนไพร เพื่อเร่งรัดการพัฒนาอุตสาหกรรมสมุนไพรไทยและมอบเครื่องหมายรับรองคุณภาพให้แก่เกษตรกร โรงพยาบาล และหน่วยงานของรัฐ 33 ราย พร้อมลงนามในความร่วมมือกับสมาคมผู้ผลิตยาสมุนไพร เพื่อพัฒนาคุณภาพวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย รมว.สาธารณสุข เปิดเผยในงานนี้ว่า เป็นความสำเร็จของวงการแพทย์ไทยที่สามารถวิจัยสมุนไพรเพื่อรักษาไข้หวัดใหญ่ ไฟโต-1 (Phyto-1) ซึ่งสถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ วิจัยหลังพบว่า การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ทุกครั้งจะต้องใช้ยาต้านไวรัสจากต่างประเทศที่มีราคาแพง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จึงได้ทดลองใช้สมุนไพรในการรักษาไข้หวัดใหญ่ ซึ่งจากการทดลองพบว่า สมุนไพรไฟโต-1 สามารถฆ่าเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้ในระดับห้องปฏิบัติการ "การใช้สมุนไพรชนิดนี้ จะใช้ในความเข้มข้นของสมุนไพรไฟโต-1 ในขนาด 5 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ซึ่งสามารถลดเชื้อไข้หวัดใหญ่ลงได้ถึง 93% โดยไม่พบความเป็นพิษหรืออันตรายจากการทดลองในสัตว์ทดลอง และผลการทดลองระยะที่ 1 ซึ่งเป็นการทดลองในมนุษย์ 10 คน ก็พบว่าปลอดภัย ไม่พบผลข้างเคียง ซึ่งจะมีการทดลองในระยะที่ 2 และระยะที่ 3 ต่อไป" น.พ.สุชัย กล่าว ด้าน น.พ.ไพจิตร วราชิต อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์มีคลังเก็บเชื้อไข้หวัดใหญ่และไข้หวัดนกจำนวนมาก ซึ่งเมื่อนำมาใช้ในการทดลองสุมนไพรไทยตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข พบว่าในส่วนของสมุนไพรไฟโต-1 ซึ่งประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก คือแมงลักคา และส่วนประกอบอื่นๆ นั้น กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้นำไปจดสิทธิบัตรยาไว้แล้ว "การทดลองในระยะที่ 1 ที่ผ่านมา พบว่ามีความปลอดภัยทั้งในสัตว์ทดลองและในมนุษย์ก็ไม่มีผลข้างเคียง ซึ่งกรมได้วางแผนที่จะวิจัยทางคลินิกในระยะที่ 2 เพื่อดูประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อในมนุษย์ให้มากขึ้น โดยคาดว่าจะใช้อาสาสมัคร 400-500 คน และจากนั้นจะมีการวิจัยในระยะที่ 3 ซึ่งคาดว่าจะใช้อาสาสมัคร 1,000 คนขึ้นไป และหลังจากที่ทำการทดลองเสร็จแล้ว ก็คาดว่าจะผลิตสมุนไพรไฟโต-1 ออกมาเป็นยาแคปซูล" อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าว ด้านนางปราณี ชวลิตธำรง ผอ.สถาบันวิจัยสมุนไพร กล่าวว่า สถาบันได้ทดลองใช้สมุนไพรดังกล่าวเพื่อหาสรรพคุณทางยาในการรักษาโรคมาประมาณ 5 ปีแล้ว แต่เพิ่งทดลองใช้กับไวรัสไข้หวัดใหญ่และไข้หวัดนกเมื่อ 1 ปีที่ผ่านมานี้ หลังจากที่องค์การอนามัยโลก (ฮู) ระบุว่าไข้หวัดใหญ่จะมีการระบาดครั้งใหญ่ในช่วง 1-2 ปีจากนี้ไป "จากการทดลองก็พบว่าสมุนไพรไฟโต-1 ได้ผลดีในการฆ่าเชื้อไข้หวัดใหญ่ ส่วนไข้หวัดนกนั้นอยู่ระหว่างดำเนินการทดลอง ซึ่งจากนี้ไปจะมีการทดลองทางคลินิกในเฟสที่ 2 ซึ่งเป็นการทดลองในมนุษย์ประมาณ 400-500 คน คาดว่า 1-2 ปี จะสามารถสรุปผลได้ แต่หลังจากการทดลองได้ประมาณ 40-50 คน ก็น่าจะได้แนวทางว่าจะมีประสิทธิภาพหรือไม่ภายใน 7-8 เดือน" นางปราณี กล่าว ทั้งนี้ แมงลักคา หรืออีตู่ป่า มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Hyptis suaveolens Poit. อยู่ในวงศ์ LAMIACEAE มีลักษณะเป็นไม้ล้มลุกถึงไม้พุ่มเตี้ย สูงถึง 2 เมตร ลำต้นอ่อนมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม มีขนปกคลุมทั่วลำต้นโดยเฉพาะที่ยอดอ่อน ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงตัวตรงข้าม ก้านใบยาว 0.5-5 ซม. ใบรูปไข่หรือรูปรี โคนใบเว้าเข้าเป็นร่องรูปหัวใจ ปลายใบแหลม ขอบใบหยัก ผิวใบมีขนสากมือ ใบกว้าง 1-6 ซม. ยาว 1.5-7.5 ซม. ก้านใบและใบอ่อนมีขนปกคลุม ใบและส่วนต่างๆ ของต้นมีกลิ่นฉุน

CLICK HERE TO SIGNUP FOR HostMonster.COM NOW.

Made by http://www.tripod.lycos.com